การทำ 5 ส. เป็นงานที่ทุกคนควรทำ ไม่แบ่งว่าเป็นระดับไหน และต้องทำไปพร้อมๆ กันครับ อย่างไรก็ตามสำหรับหน่วยงานที่ไม่เคยทำ 5 ส. มาก่อน จุดเริ่มต้นอาจจะต้องมาจากผู้บริหารก่อน และเป็นการดำเนินกิจกรรมในลักษณะจากบนลงไปล่าง (Top–Down) โดยต้องเป็นการกระตุ้นจากระดับบริหาร หรือระดับจัดการก่อนนั้นเอง โดยการกำหนดนโยบายและส่งเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง เข้าไปดูแล แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง หน่วยงานก็แทบจะไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวเลยด้วยซ้ำ คนที่รู้จุด
มุ่งหมายของ 5 ส. จะสามารถดูแลตัวเองในการทำกิจกรมม 5 ส. ได้ตลอดไป และที่สำคัญลักษณะของกิจกรรมจะส่งผลย้อนกลับ คือจะเกิดผลดีกลับขึ้นไปต่อการบริหารและจัดการในภาพรวม เรียกว่าย้อนกลับขึ้นไปจากข้างล่างไปสู่ข้างบน (Bottom–up) นั้นเองครับและ สิ่งสำคัญในการลงมือทำกิจกรรม 5 ส. นั้นคือต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นความเคยชิน ประโยชน์จาการทำ 5 ส. ทั้งจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง และจากส่วนล่างไปสู่ส่วนบน จึงจะปรากฏผลชัดเจน ซึ่งผมขอยกตัวอย่างผลสำเร็จของชาวญี่ปุ่น ที่ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับองค์กร หรือระดับประเทศ 5 ส. เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการพัฒนาของพวก เขามาโดยตลอด
ปัจจุบันถ้าเราไปถาม คนญี่ปุ่นว่ารู้จัก 5 ส. หรือไม่ ส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้จัก ที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่ญี่ปุ่นไม่ได้ทำ 5 ส. นะครับ แต่เป็นเพราะเขาทำจนกลืนกลายเป็นนิสัยส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ซึ่งจากการทำ 5 ส. จนกลายเป็นนิสัยของชาวญี่ปุ่นนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศที่เป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างพวกเขา สามารถพัฒนาตนเองจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้
ที่กล่าวมานี้นั้นไม่ใช่เรื่องเกินจริงครับ แต่เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นจริง จากอดีตถึงปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นใช้หลัก 5 S. (หลักการ 5 ส. ในภาคภาษาญี่ปุ่น) เป็นหลักสำหรับวางรากฐานพัฒนาคน พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน และพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารเกือบทั้งหมด ไม่ลังเลที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีนั้นเอง
ฉะนั้น การทำ 5 ส. ให้พนักงานเห็น พนักงานเองก็เชื่อมั่นว่า นี่คือแนวทางที่ดีที่จะช่วยให้การทำงานของตนเองสำเร็จเป็นไปได้ง่ายขึ้น 5 ส. จึงเปรียบเสมือนจุดร่วมในองค์กร ที่ยึดเหนี่ยวให้ทั้งหมดก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกันในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตครับ
มุ่งหมายของ 5 ส. จะสามารถดูแลตัวเองในการทำกิจกรมม 5 ส. ได้ตลอดไป และที่สำคัญลักษณะของกิจกรรมจะส่งผลย้อนกลับ คือจะเกิดผลดีกลับขึ้นไปต่อการบริหารและจัดการในภาพรวม เรียกว่าย้อนกลับขึ้นไปจากข้างล่างไปสู่ข้างบน (Bottom–up) นั้นเองครับและ สิ่งสำคัญในการลงมือทำกิจกรรม 5 ส. นั้นคือต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นความเคยชิน ประโยชน์จาการทำ 5 ส. ทั้งจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง และจากส่วนล่างไปสู่ส่วนบน จึงจะปรากฏผลชัดเจน ซึ่งผมขอยกตัวอย่างผลสำเร็จของชาวญี่ปุ่น ที่ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับองค์กร หรือระดับประเทศ 5 ส. เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการพัฒนาของพวก เขามาโดยตลอด
ปัจจุบันถ้าเราไปถาม คนญี่ปุ่นว่ารู้จัก 5 ส. หรือไม่ ส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้จัก ที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่ญี่ปุ่นไม่ได้ทำ 5 ส. นะครับ แต่เป็นเพราะเขาทำจนกลืนกลายเป็นนิสัยส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ซึ่งจากการทำ 5 ส. จนกลายเป็นนิสัยของชาวญี่ปุ่นนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศที่เป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างพวกเขา สามารถพัฒนาตนเองจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้
ที่กล่าวมานี้นั้นไม่ใช่เรื่องเกินจริงครับ แต่เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นจริง จากอดีตถึงปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นใช้หลัก 5 S. (หลักการ 5 ส. ในภาคภาษาญี่ปุ่น) เป็นหลักสำหรับวางรากฐานพัฒนาคน พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน และพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารเกือบทั้งหมด ไม่ลังเลที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีนั้นเอง
ฉะนั้น การทำ 5 ส. ให้พนักงานเห็น พนักงานเองก็เชื่อมั่นว่า นี่คือแนวทางที่ดีที่จะช่วยให้การทำงานของตนเองสำเร็จเป็นไปได้ง่ายขึ้น 5 ส. จึงเปรียบเสมือนจุดร่วมในองค์กร ที่ยึดเหนี่ยวให้ทั้งหมดก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกันในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตครับ
ไส้อ่อนหมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น